หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
การออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ด้วยโปรแกรม
Google Sketch Up


เรื่อง การใช้โปรแกรม Google Sketch Up เบื้องต้น

โปรแกรม Google Sketch Up

โปรแกรม Google Sketch Up เป็นโปรแกรมออกแบบจาก Google ที่สามารถสร้างโมเดลอาคาร สิ่งก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ สินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยง่ายต่อการใช้งานทำให้เป็นโปรแกรมที่สามารถใช้ได้ทุกคน โดยเป็นโปรแกรมที่ทำงานได้สะดวกและรวดเร็วโดยสร้างคำสั่งให้สอดคล้องกับผู้ใช้งานว่ากำลังทำอะไรอยู่และผู้ใช้งานสามารถใช้คำสั่งต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องคลิกหรือเปลี่ยนการทำงาน โปรแกรม Google Sketch Up ยังมีคำสั่งที่ฉลาดอีกมากมายทั้ง ให้เคลื่อนไหวและ มีมาตราส่วนทำให้ได้แบบที่สมบูรณ์จริง ออกมาง่ายๆ ทั้งนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ต่อชีวิตประจำวันได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งการออกแบบ สิ่งต่างๆเพื่อให้ได้รูปโมเดลสามมิติที่สมจริง หรืออกแบบเพื่อใช้ก่อสร้างหรือใช้ประโยชน์จริงๆ

การติดตั้ง Google Sketch Up

1. ดับเบิ้ลคลิกไอคอนดังรูป

Responsive image

2. กด Next

Responsive image

3. คลิกเลือก I accept the terms in the License Agreement แล้วกด Next

Responsive image

4. เลือกพื้นที่จัดเก็บโปรแกรม แล้วคลิกที่ Next

Responsive image

5. คลิกเลือก Install เพื่อทำการติดตั้งโปรแกรม Google Sketch Up

Responsive image

6.ระหว่างนี้รอโปรแกรมติดตั้งสักครู่

Responsive image

7. เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้วก็จะได้หน้าจอดังรูปข้างล่างนี้เลย เมื่อพร้อมใช้งานแล้วก็กด Finish เพื่อเข้าสู่โปรแกรม

Responsive image

คุณสมบัติของโปรแกรมและความต้องการพื้นฐานของระบบ

ระบบปฏิบัติการ : Microsoft Windows® XP / Vista / 7

ความเร็ว CPU : 1 GHz

หน่วยความจำ RAM : 512 MB สำหรับ XP และ 1 GB สำหรับ Vista / 7

Hard-disk : 300 MB สำหรับการติดตั้งโปรแกรม

การ์ดแสดงผล : 128 MB สำหรับ XP และ 256 MB สำหรับ Vista / 7

เมาส์ : แบบ 3 ปุ่ม มี ล้อหมุน

ซอฟต์แวร์ที่จำเป็น : Microsoft Service Pack 2 ขึ้นไปสำหรับ XP, IE 7.0 ขึ้นไป และ .Net Framework เวอร์ชั่น 2.0 สำหรับการติดตั้ง Google SketchUp Pro

ส่วนประกอบต่างๆ ของโปรแกรม

MeasurmentTool (เครื่องมือกําหนดขนาด) การกําหนดค่าในส่วนของ Model Info

Responsive image

Title Bar (แถบไตเติล)

แถบสําหรับแสดงชื่อไฟล์ที่กําลังทํางานอยู่ในขณะนั้น โดยในการเปิดโปรแกรมหรือสร้างงานขึ้นมาใหม่ ชื่อไฟล์บนแถบไตเติ้ลจะแสดงเป็น Untitled จนกว่าจะมีการบันทึกและตั้งชื่อไฟล์

Menu Bar (แถบเมนู)

แถบที่รวบรวมคําสั่งต่างๆในการทํางาน โดยจะแบ่งออกเป็น 8 หมวดด้วยกันดังนี้

- File: เป็นกลุ่มคําสั่งสําหรับจัดการกับไฟล์งานเช่น การสร้างไฟล์งาน เปิดไฟล์งาน การบันทึก การนําเข้า/ส่งออก การสั่งพิมพ์ เป็นต้น

- Edit: เป็นกลุ่มคําสั่งสําหรับปรับแต่งแก้ไขเช่น การคัดลอก ลบ ซ่อน/แสดงวัตถุ สร้างGroup/Component เป็นต้น

- View: เป็นกลุ่มคําสั่งสําหรับจัดการในส่วนของพื้นที่ทํางาน เช่น ซ่อน/แสดงแถบเครื่องมือ เส้นไกด์ แกนอ้างอิง เงาหมอกการแสดงผลของเส้น การแสดงผลในส่วนของการแก้ไขGroup/Component เป็นต้น

- Camera: เป็นกลุ่มคําสั่งสําหรับจัดการในส่วนของมุมมองในการทํางาน เช่น การหมุน เลื่อน ย่อ/ขยาย เป็นต้น

- Draw: เป็นกลุ่มคําสั่งสําหรับเรียกใช้เครื่องมือต่างๆในการวาดรูปทรงเช่น กาววาดเส้นตรง เส้นโค้ง สี่เหลี่ยม วงกลมเป็นต้น

Tools: เป็นกลุ่มคําสั่งสําหรับเรียกใช้เครื่องมือต่างๆในการทํางาน เช่น Push/Pull การหมุน/ย้ายวัตถุ การสร้างตัวอักษรสามมิติ การวัดขนาด เป็นต้น

Window:เป็นกลุ่มคําสั่งเกี่ยวกับการเรียกแสดงหน้าต่างหรือไดอะล็อกบอกซ์ขึ้นมาเพื่อใช้ร่วมในการทํางานและปรับแต่งค่าต่างๆของโปรแกรม

-Help: เป็นกลุ่มคําสั่งเกี่ยวกับคู่มือการแนะนําการใช้งานโปรแกรม ไปจนถึงการลงทะเบียนและการตรวจสอบการอัพเดต

Toolbars (แถบเครื่องมือ)

แถบเครื่องมือต่างๆในการทํางาน โดยในขั้นต้นโปรแกรมจะกําหนดแถบเครื่องมือมาให้กลุ่มเดียว (จาก 20 กลุ่ม) คือ Getting Start ซึ่งในการทํางานจริงเครื่องมือเพียงเท่านี้ไม่เพียงพอต่อการทํางาน เราสามารถที่จะเรียกแสดงแถบเครื่องมือกลุ่มต่างๆได้จากเมนู View > Toolbars แล้วเลือกแถบเครื่องมือที่ต้องการ โดยแถบเครื่องมือที่แสดงอยู่จะมีเครื่องหมายถูกอยู่ที่หน้าคําสั่ง เพื่อความสะดวกในการทํางานแนะนําให้เรียกแสดงแถบเครื่องมือดังภาพตัวอย่าง ซึ่งเป็นกลุ่มเครื่องมือที่มักจะถูกใช้งานเป็นประจําในการสร้างแบบจําลองสามมิติในเบื้องต้น

Responsive image

Drawing Area (พื้นที่ทํางาน)

เป็นพื้นที่สําหรับทํางานซึ่งสามารถที่จะปรับเปลี่ยนมุมมองไปเป็นมุมมองต่างๆ ทั้งในการทํางานในมุมมองแบบ 2D และ 3D โดยมุมมองแบบ 2D นั้นจะแบ่งออกเป็นด้านบน ด้านหน้า ด้านขวา ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านล่าง และมุมมองแบบ 3D จะถูกเรียกว่า Iso (Isometric)

Drawing Axes(แกนอ้างอิง)

คือเส้นแกนสําหรับอ้างอิงการทํางานเพื่อให้การวาดรูปทรงและการสร้างแบบจําลองในทิศทางต่างๆเป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยํา โดยแกนอ้างอิงจะแบ่งออกเป็น 3 แกนด้วยกันคือ xจะอยู่ในลักษณะของแนวขวาง (แกนสีแดง), y จะอยู่ในลักษณะของแนวลึก (แกนสีเขียว) และ z จะอยู่ในลักษณะของแนวตั้ง (แกนสีน้ําเงิน)จุดตัดกันระหว่างเส้นแกนทั้ง 3 เส้นจะถูกเรียกว่าOriginal Point หรือจะเรียกว่าจุดศูนย์กลางของพื้นที่ทํางานก็ได้เช่นกัน โดยตําแหน่งของOriginal Point จะมีค่า x, y, z เท่ากับ 0 โดยถ้าค่าตัวเลขเป็นบวกจะอยู่ในทิศทางของเส้นทึบ และถ้าค่าเป็นลบจะอยู่ในทิศทางของเส้นจุดไข่ปลา

Responsive image

Status Bar (แถบสถานะ

คือแถบแสดงสถานะต่างๆในการทํางาน โดยจะแสดงในส่วนการแนะนําการใช้งานเครื่องมือต่างๆที่จะเปลี่ยนไปตามการทํางานและการใช้เครื่องมือแต่ละชนิด ใน Google SketchUp ตั้งแต่เวอร์ชัน 7 เป็นต้นมาได้มีการเพิ่มไอคอนในส่วนของการทํางานร่วม กับระบบออนไลน์เข้ามาไว้เพื่อให้สะดวกกับการแชร์ผลงานไปยัง Google 3D Warehouse และกําหนดตําแหน่งจริงบนแผ่นดินให้กับแบบจําลองด้วย นอกจากนี้ยังเพิ่มเติมในส่วนของไอคอน Help ที่จะช่วยเรียกแสดงหน้าต่าง Instructor ขึ้นมาเพื่อแนะนําการใช้งานเครื่องมือต่างๆอีกด้วย

Dialog Boxes(กล่องเครื่องมือ)

Dialog Boxes จะมีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อด้วยกันเช่น Window หรือ Panel ขอเรียกรวมๆว่าหน้าต่างเพื่อความกระชับ โดยจะมีลักษณะเป็นหน้าต่างเครื่องมือสําหรับปรับแต่งแก้ไขรายละเอียดในการทํางาน และกําหนดค่าต่างๆของโปรแกรม เช่น หน้าต่าง System Preferences จะเป็นหน้าต่างสําหรับกําหนดค่าต่างๆของโปรแกรม, หน้าต่าง Materials จะเป็นหน้าต่างที่รวบรวมเอาวัสดุต่างๆเพื่อนําไปใส่ให้กับพื้นผิวของโมเดล (นิยมเรียกกันว่าการใส่แมท), หน้าต่าง Shadow Settings จะเป็นส่วนสําหรับการกําหนดทิศทางของแสง/เงาเป็นต้น

การเรียกแสดงหน้าต่างแต่ละชนิดสามารถเรียกได้จากเมนู Window แล้วเลือกเปิดหน้าต่างที่ต้องการ โดยหน้าต่างที่เปิดอยู่จะมีเครื่องหมายถูกกํากับไว้อยู่ที่หน้าคําสั่ง (เฉพาะหน้าต่างที่เกี่ยวกับการปรับแต่งโมเดล) และถ้ามีเครื่องหมายขีดอยู่ด้านหน้าจะหมายถึงหน้าต่างนั้นเปิดอยู่แต่ถูกย่อเอาไว้เหลือเพียงแถบไตเติล

Responsive image

Measurment มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า VCB (Value Control Box) เป็นเครื่องมือสําหรับกําหนดค่าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความยาว ขนาด องศา ระยะ ให้กับการใช้งานเครื่องมือต่างๆซึ่งจะช่วยให้การสร้างแบบจําลองมีความแม่นยําและได้สัดส่วนที่ถูกต้อง โดยรูปแบบการกําหนดค่าด้วยMeasurment นั้นจะใช้วิธีการพิมพ์ตัวเลขลงไปในขณะที่ใช้เครื่องมือแต่ละชนิดอยู่โดยที่ไม่ต้องเอาเม้าส์ไปคลิกที่ช่องกําหนดค่า เช่นเมื่อเราต้องการวาดรูปสี่เหลี่ยมขนาด 5 x 5 เมตร เราจะใช้เครื่องมือ Rectangle วาดรูปสี่เหลี่ยม จากนั้นพิมพ์ค่าลงไปเป็น 5m,5m หรือ 5,5 (ในกรณีที่กําหนดหน่วยวัดเป็นเมตรไม่จําเป็นที่จะต้องใส่หน่วยวัดต่อท้ายตัวเลข) แล้วเคาะ Enter เราก็จะได้รูปสี่เหลี่ยมขนาด 5 x 5 เมตรเป็นต้น

Responsive image

เครื่องมือสําหรับจัดการมุมมอง

ในการสร้างแบบจําลองสามมิติเราจําเป็นที่จะต้องปรับมุมมองไปในทิศทางต่างๆเพื่อให้สามารถสร้างวัตถุในทิศทางต่างๆได้ โดยเราสามารถที่จะควบคุมและปรับเปลี่ยนมุมมองได้ด้วยการใช้เครื่องมือต่างๆที่โปรแกรมมีมาให้ โดยเครื่องมือหลักๆ สําหรับการควบคุมมุมมองจะมีด้วยกันดังนี้

Responsive image

การเลือกแม่แบบเพื่อใช้งาน

การทํางานในโปรแกรม Google SketchUp ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโปรแกรมขึ้นมาหรือการสร้างงานใหม่ โปรแกรมจะทําการเรียกเอาแม่แบบที่ถูกกําหนดเอาไว้แล้วมาเป็นแม่แบบเริ่มต้นสําหรับการทํางานเราสามารถที่จะเลือกกําหนดแม่แบบเริ่มต้นสําหรับการทํางานได้จากหน้าต่าง System Preferences ในหมวด Template หรือเลือกจากหน้าต่าง Welcome to SketchUp ก็ได้เช่นกัน การเรียกแสดงหน้าต่าง Welcome to Sketch Up สามารถเลือกได้จากเมูน Help > Welcome to Sketch Up

Responsive image

Model Info เป็นส่วนสําหรับกําหนดรายละเอียดต่างๆของไฟล์งานที่กําลังทํางานอยู่ในขณะนั้นเพื่อช่วยให้การทํางานมีความสะดวกและเหมาะสมกับการทํางานในลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการกําหนดการแสดงผลของแอนิเมชัน การแก้ไข Component/Group การกําหนดรายละเอียดของไฟล์ หน่วยวัด รูปแบบตัวอักษร เป็นต้น สามารถเรียก หน้าต่าง Model Info ได้จากเมนู Win-dow > Model Infoหรือคลิกที่ไอคอน

Responsive image

การบันทึกแม่แบบ (Save AsTemplate)

เราสามารถบันทึกไฟล์งานเก็บไว้เป็นแม่แบบสําหรับใช้งานในครั้งต่อไปได้จากเมนู File > Save As Template การบันทึกแม่แบบนั้นจะมีการเก็บค่าต่างๆที่กําหนดเอาไว้ในไฟล์งาน ไม่ว่าจะเป็นการกําหนดค่าต่างๆใน Model Info มุมมอง หรือรูปแบบการแสดงผลเป็นต้น

- Save As คือการบันทึกไฟล์งานที่กําลังทํางานอยู่ในขณะนั้นเป็นไฟล์ใหม่ โดยจะมีการตั้งชื่อไฟล์ใหม่และจะทํางาน

- Save ACopy As คือการบันทึกไฟล์งานที่กําลังทํางานอยู่ในขณะนั้นเป็นไฟล์ใหม่ โดยจะมีการตั้งชื่อไฟล์ใหม่แต่จะยังคงทํา

- Save AsTemplate คือการบันทึกไฟล์งานเป็นแม่แบบเก็บเอาไว้เพื่อใช้เป็นแม่แบบในการสร้างงานในครั้งต่อไป

- Save คือ ลักษณะการบันทึกไฟล์งานแบบปกติทั่วไปต่อกับไฟล์ใหม่งานกับไฟล์งานเดิมอยู่

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ด้วยโปรแกรม Google Sketch Up
เรื่องเริ่มต้นการทำงานด้วยโปรแกรม Google Sketch Up